วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556




ข้าวอินท
รีย์
119 ถัง หรือ 1,190 กิโลกรัม ทำได้จริงด้วยชีวิตที่ดีมีได้จริงกับเกษตรดินดี





                การปลูกข้าวนั้นจุดสำคัญที่สุดไม่ใช่พันธุ์ข้าวที่ทนโรคทนแมลง       แต่ที่สำคัญคือการทำให้ข้าวแตกกอและข้าวยืนต้นไม่ล้ม โดยในปัจจุบันข้าวของคนไทยส่วนใหญ่จะมีด้วยกัน 2ทุ่งในคำเปรียบเปรยคือทุ่งหมานอนกับทุ่งหมาฟัดคือต้นข้าวหลังจากออกรวงแล้วใกล้แก่หรือพลับพลึงก็จะล้มราบเป็นทุ่งๆเลเปรียบเสมือนหมานอนจนราบไปหมดกับแบบที่สองเมื่อมีลมพัดแรงๆ ข้าวจะล้มทับกัน บ้างยืนต้นล้มบ้าง เปรียบเสมือนหมาวิ่งหยอกล้อกันวิ่งเล่นกันทำให้พืชล้มเป็นหย่อมๆ  นั้นเอง แต่ทางเราข้าวโดยแนวทางอินทรีย์คือ
1.การทำดินตายให้เป็นดินเป็น ดินที่ดีคือปุ๋ยที่ดีเมื่อดินดีแล้วใส่ปุ๋ยแบบผงชูรส
2.ให้อาหารพืชอย่างถูกวิธี
3.สร้างภูมิคุ้มกันให้พืช   ซึ่งเมื่อนำทฤษฎีนี้มาใช้ก็จะได้ ต้นข้าว, กอข้าว, รวงข้าว แข็งแรงสมบูรณ์ เมล็ดข้าวใหญ่รวงใหญ่จะแง่ถี่,เมล็ดสวย ข้าวไม่เป็นท้องปลาซิว,เมล็ดไม่ลีบ 






                    




การแตกกอของต้นข้าว

                ในปัจจุบันทุกๆคนพยายามสรรหาสายพันธุ์ข้าวที่ทนโรคทนแมลงและทนแล้ง  แต่สุดท้ายก็ยังไม่ทนโรคหรือแมลงเหมือนเดิม     แต่ทุกคนก็ลืมไปว่าข้าวที่เราปลูกในปัจจุบันแทบจะไม่มีการแตกกอให้เห็นแล้วจึงทำให้ชาวนาต่างๆ หว่านข้าวให้ถี่ขึ้น เพื่อจะให้ได้ผลผลิตที่สูงแต่กลับทำให้ข้าวเป็นโรค     เพราะการหว่านข้าวแบบถี่ๆ จะทำให้เป็นแหล่งรวมโรคเพราะแออัด การถ่ายเทอากาศไม่สะดวก การสังเคราะห์แสงก็ไม่ดี  การใช้ปุ๋ยก็ต้องใช้ในปริมาณมากๆ แต่ผลผลิตก็ไม่ได้ตามการใส่ปุ๋ยเลย  ซึ่งข้าวเป็นพืชมหัศจรรย์    
                ถ้าเรามองเห็นเมล็ดข้าวเปลือก1เมล็ด เราจะไม่เห็นคุณค่าของเมล็ดข้าวเปลือกนั้น  และ ไม่มีราคาค่างวดอะไร แต่เมื่อเมล็ดข้าวได้ตกลงดินที่ดีมีปุ๋ยที่ดีข้าวเพียง  1 เมล็ดสามารถแตกกออกช่อออกรวง  ข้าวใน 1รวงมีเมล็ดข้าวเปลือกมากกว่า  200-300 เมล็ดเลยทีเดียวแต่เมื่อข้าวแตกกอ    
                สมมุติว่าข้าวเมล็ดเกิดเป็นข้าว 1 กอ และสมมุติว่ามีต้นข้าวแตกกอรวมกันได้ 30 ต้นใน 1กอและถ้า 1 ต้นมี 200-300 เมล็ด แล้วข้าวกอนี้ ก็จะมีเมล็ดข้าวรวมกันได้ประมาณ 200-300x30=6000-9000 เมล็ดเลยทีเดียว จากข้าวแค่เมล็ดเดียวที่ไม่มีราคาค่างวดอะไร นี่คือเสน่ห์ของข้าวเปลือกที่อนาคตคือข้าวที่เรานำมารับประทานวิธีการและแนวทางที่เรานำทำและปฏิบัติในการทำข้าวนั้น   เริ่มต้นด้วยเราต้องผลิตข้าวเป็นเมล็ดพันธุ์ไว้ในอนาคตเพื่อจะได้ไม่ต้องซื้อเขามาในการทำพันธุ์อีก     
                โดยต้องทำการกำจัดข้าวดีด,ข้าวเด้ง,เมล็ดวัชพืชและฟางข้าว  โดยใช้จุลินทรีทำการย่อยสลายภาย 5-7 วันเท่านั้นเราก็จะได้ผืนนาที่อุดมไปด้วยอาหารพืชในปุ๋ย N-P-K จากการย่อยสลายฟางข้าวซึ่งการย่อยสลายฟางใน 1 ไร่ เราจะได้ N=16 Kg , P=7 Kg, K=9 Kg    ซึ่งธรรมชาติสร้างให้กับผู้ที่ทำนา  ในการทำนาเราจะแนะนำให้ไถด้วยผาล3 แล้วแปรเพื่อกลบหน้าดิน ทำลายเชื้อราที่มีการสะสมด้วยแสงแดดและในการหว่านเมล็ดข้าวเราไม่ควรจะหว่านหนา ทางเราหว่านเพียงไร่ละ 12-15Kg ต่อไร่    
                ซึ่งในการหว่านแบบนี้จะทำให้ข้าวแตกกอได้ดีโดยเมื่อข้าวเริ่มขึ้นแล้วให้นับอีก 18-21 วัน      เราจะสั่งให้ข้าวแตกกอครั้งที่  1 และห่างอีก 7-10 วัน จะสั่งให้ข้าวแตกกอครั้งที่  2  แต่ในช่วงการสั่งแตกกอขอแนะนำให้ปล่อยน้ำออกจากแปลง และเมื่อสั่งแตกกอครั้งที่   แล้วก็ปล่อยนั่นเอง และจุดสำคัญที่สุดของคนทำนาก็คือช่วงที่ต้นข้าวกำลังสะสมแป้งและน้ำตาลอยู่นั้นเองเป็นช่วงวิกฤตเพราะในช่วงนี้ชาวนาจะมีความเข้าใจผิดอย่างมากเพราะเมื่อเห็นต้นข้าวในช่วงนี้จะคิดว่าข้าวกำลังเกิดโรคหรือมีความเข้าใจว่าต้นข้าวมีความต้องการปุ๋ยอย่างมาก    
                 ซึ่งจะทำให้ชาวนาแทบจะทุกคนจะใส่ปุ๋ยให้กับต้นข้าวกัน เมื่อทุกคนใส่ปุ๋ยลงไปต้นข้าวจะหยุดการสะสมแป้งและน้ำตาลทันที   แต่จะเปลี่ยนหน้าที่ไปสร้างความเขียวให้กับต้นข้าวแทนหรือทำให้ต้นข้าวไปสร้างคลอโรฟิลด์ จึงทำให้ข้าวที่ชาวนาประสบพบเห็นเป็นประจำเป็นเหตุการณ์ปกติ       ก็คือข้าวเป็นข้าวปลาซิว จะแงข้าวสั้นและข้าวลีบนั้นเอง เพราะความเข้าใจผิด      แต่ทางเราไม่เจอปัญหาแบบนี้เพราะช่วงนี้เราจะไม่ทำอะไรกับต้นข้าว แต่เราจะไปกระตุ้นหรือที่เราเรียกว่าการ”กระชากรวง      เพื่อกระตุ้นให้ข้าวสุกเสมอกันทั้งแปลงเวลาขายข้าวเปลือกก็จะได้ข้าวเปลือกทีมีคุณภาพ ข้าวไม่เป็นท้องปลาซิว ข้าวไม่ลีบ   และที่สำคัญเราจะได้ค่ากรัมข้าวที่เสมอกันทุกๆแปลงที่เราไปขายเพราะข้าวสุกเสมอกันนั่นเอง


เทคนิคการทำข้าว
1.ให้ทำการหว่านข้าวโดยเฉลี่ยไร่ละ 12-20 กิโลกรัม/ไร่เท่านั้น


การหว่านเมล็ดไร่ละ 15 kg /ไร่
2.เมื่อข้าวอายุได้18-21วัน ให้สั่งข้าวแตกกอโดยฉีดพ่นด้วยอาหารพืชเข้มข้น ดรีม 30 cc. ดีว่า 30 cc. (F-1นาโน 5 cc.+แคปซูลADE 6 แคปซูล) +ปานะ 2 cc. นี่คือส่วนประกอบของธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และสั่งแตกกอโดยใช้ ไคเนเทค ครั้งแรก 10cc และในการฉีดแตกกอไม่ควรให้มีน้ำขังในแปลง ดินในนาควรแห้ง


สั่งให้ข้าวแตกกอครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2  โดยพื้นนาแห้งน้ำไม่ขัง
 3.หลังจากฉีดได้ 7-10 วันแล้ว ให้ฉีดสั่งแตกกออีกครั้ง แล้วไขน้ำเข้านา โดยให้น้ำมีความสูง 1ใน3 ส่วนของต้นข้าว
4.เมื่ออายุข้าวได้ 40-45 วัน ให้ฉีดพ่นอาหารพืชอีกครั้ง โดยใช้ดรีม30cc+F-1นาโน 5 cc. + แคปซูลADE 6 แคปซูล+ปานะ 2 cc.
5.หลังจากนี้สามารถปล่อยให้ผืนนาเปียกสลับแห้งได้จะดีมาก โดยสังเกตุจะมีมูลของใส้เดือนขึ้นข้างๆกอข้าว ก็ค่อยปล่อยน้ำเข้านาอีกครั้ง
6.ถ้าสามารถฉีดพ่นอาหารพืชดังข้อ 4 ได้อีกครั้ง ถือเป็นการให้อาหารครั้งสุดท้ายเพื่อให้ต้นข้าวได้สะสมแป้งและน้ำตาล โดยช่วงนี้เป็นช่วงวิกฤตของข้าว คือข้าวจะเริ่มตั้งท้อง โดยต้นข้าวจะกลม ห้ามใส่ปุ๋ยทุกชนิดแม้กระทั่งอาหารทางใบก็ตาม เพราะถ้าใส่ปุ๋ยหรืออาหารทางใบลงไปจะทำให้ข้าวเปลี่ยนจากการสร้างน้ำนมสะสมแป้งและน้ำตาล มาสร้างคลอโรฟิลแทน(ใบ)
หลังจากกะชาก รวง
7.เมื่อเริ่มเห็นข้าวแทงใบธง เริ่มเห็นรวงข้าวขึ้นปละปลาย ให้ทำการกระชากรวงและขยายรวงข้าว เพื่มความถี่ของจแง้ข้าวโดยใช้Mลาซู 30cc.+Password 10 กรัม +ปานะ 2 cc. ไม่มีการให้ปุ๋ยและฮอร์โมนใดๆทั้งสิ้น ฉีดเพียงครั้งเดียวก็จะได้ข้าว100 ถังแล้ว ซึ่งวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเลยแม้แต่เม็ดเดียว






8.ในปัจจุบันมีการระบาดของโรคใบไหม้,ใบกรีดเขียว,โรคเชื้อรา,ยอดจู๋หรือรวงข้าวหักกลางหรือหักคอรวง เพราะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จึงแนะนำให้ใช้การป้องกันโดยใช้วัคซีนพืช(ชาร์ปเลท 30cc.+ปานะ 2 cc.) ทุกครั้งของการให้อาหารแก่ต้นข้าว จึงจะทำให้ข้าวมีภูมิคุ้มกันและรักษาโรคดังกล่าวได้
สงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
     081-046-0335 ,085-603-0090 เอ็ม
    9 - 12-15 
ปีนี้ถือว่าเกษตรกรชาวนาเหนื่อย เพราะไม่มีโครงการประกันหรือจำนำแล้วยังแถมด้วยราคาที่ตกต่ำฝนฟ้าก็ไม่อำนวยโดยเฉพาะพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทานหรือนาที่อาศัยน้ำฟ้า(ฝนธรรมชาติ)ก็ได้ผลผลิตไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือบางแปลงไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตเลยหรือที่เรียกว่าตายแล้ง
  ส่วนชาวนาที่เพาะปลูกในเขตชลประทานบางแห่งก็รอดพ้นได้ผลผลิต บางแห่งก็ได้บ้าง แต่เป็นที่แน่นอนในเขตชลประทานหลายๆแห่งหน่วยงานภาครัฐไม่อนุญาติให้ทำนาปรัง เพราะในปีนี้ฝนตกน้อย ในบางพื้นที่ฝนตกดีแต่ตกใต้เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนประชาชน แต่มีบางพื้นที่ๆมีน้ำดีก็สามารถทำนาปรังได้
  แต่ด้วยจากฤดูการที่เพาะปลูกที่ผ่านมาได้ผลผลิตน้อย ถ้าต้องลงทุนไถและเพาะปลูกในฤดูกาลใหม่ก็ต้องใช้ทุนอีกมิใช่น้อยแม้ว่าราคาน้ำมันจะขยับลงก็ตาม แต่ปุ๋ยยาเคมี มิได้ขยับลงด้วย
  จึงขอเสนอแนวทางการทำนาย่ำตอ เสมือนการทำนาตม  ซึ่งทางเราเคยทำนาประเภทนี้เมื่อครั้นที่มีน้ำดีๆ แต่การทำนาเช่นนี้ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพราะ
  โดยเริ่มต้นเมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ(ซึ่งในปัจจุบัน นิยมเก็บเกี่ยวด้วยรถดูดข้าว)เพราะสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากแรงงานหายาก ค่าแรงสูง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายโดยใช้เครื่องจักรมาช่วยต้นทุนก็ลดลงแต่ก็ยังไม่สามารถทำให้เกษตรกรร่ำรวยขึ้น แต่กลับเป็นหนี้เพิ่มขึ้นในทุกๆปี
  หลังจากนำข้าวเปลือกออกจากแปลงนาเรียบร้อยก็ทำการขยายฟางข้าวให้กระจายทั่วแปลงไม่ให้กองเป็นกระจุก โดยใช้วิธีเกี่ยฟางและใช้ไม้เสาที่มีน้ำหนักลากไปในแปลงนาให้ตอซังข้าวแตกหักให้มากที่สุด
  แล้วเติมน้ำลงแช่ตอซังแบบเฉอะแฉะจะท่วมก็ไม่ท่วมปริ่มๆตอซัง
  ปล่อยให้น้ำแห้งเอง ซึ่งช่วงนี้แหละต้นข้าวจะเริ่มแตกมาเป็นต้นข้าวต้นใหม่ และมีจำนวณต้นอย่างมากแตกรากข้างล่างมีจำนวณต้นมากกว่าเดิมถึง ๒ เท่า และมีความแข็งแรงสูงมีระบบรากที่สมบูรณ์รากเยอะหาอาหารเก่ง 
 ส่วนฟางที่กระจายทั่วแปลงนาก็จะเน่าผุ สลายตัวเป็นปุ๋ยให้กับนา ซึ่งการทำนาย้ำตอประหยัดคาใช้จ่ายมหาศาลไม่ต้องไถที่ ไม่ต้องหว่านหรือตกกล้าดำใหม่ และปริมาณผลผลิต(ข้าวเปลือก)ก็เพิ่มทุกๆครั้งที่ย้ำตอ และสามารถทำนาย้ำตอ ติดต่อกันได้มากเท่าที่เกษตรกร(ชาวนา)ต้องการเราเคยทำได้ถึง ๖ คราว
หลังจากต้นข้าวเริ่มเจริญเติบโตได้  ๒๑ วันก็เริ่มสั่งแตกกอ บำรุงต้นให้อาหารเหมือนๆกับตอนดูแลข้าวที่อายุ ๒๑ วันเลย แต่ต่างกันตรงไม่มีการไถและหว่านเมล็ดข้าวใหม่แค่นั้นเอง 

1 ความคิดเห็น:

  1. การทำนาในปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนตามสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อม

    ตอบลบ